วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

''''''MOI''''''


Je suis intelligente, sensible, nerveuse, méfiante et gaie.


Je n'aime pas les gens qui sont capricieux, hypocrites, menteurs, jaloux , égoïstes et paresseux.


Je suis gaie et sensible mais Je n’aime pas les gens qui sont capricieux.




วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ
10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

พระมหากษัตริย์
สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการราษฎร
ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 25 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 18 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2427 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน
ฉบับที่ 2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน
ฉบับที่ 3. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน
ฉบับที่ 4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน
ฉบับที่ 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน
ฉบับที่ 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ประกาศและบังคับใช้ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุและประกาศบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
ฉบับที่ 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน
ฉบับที่ 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 20 วัน
ฉบับที่ 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน
ฉบับที่ 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี
ฉบับที่ 11. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี
ฉบับที่ 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 13 วัน
ฉบับที่ 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)
ฉบับที่ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ฉบับที่ 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)
ฉบับที่ 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
มีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันรัฐธรรมนูญ

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สุลักษณ์ ศิวรักษ์



สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกาว่า ส. ศิวรักษ์ เป็นนักคิด นักเขียนชั้นแนวหน้าของประเทศไทย มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องการวิจารณ์อย่างไม่เกรงใจใคร ไม่เกรงอำนาจผู้ใด ได้รับ รางวัลอัลเทอเนทีฟโนเบล ในปี พ.ศ. 2538
ประวัติ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เกิดเมื่อวันที่
27 มีนาคม พ.ศ. 2475 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ หรือ เหม่ เป็นบุตรคนเดียวของ นายเฉลิม - นางสุพรรณ. สมรสกับ นางนิลฉวี มีบุตร 3 คน เป็นชาย 1 คน และ หญิง 2 คน
[
แก้] การศึกษา
พ.ศ. 2495 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ซึ่งเป็น โรงเรียนคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก โดยเข้าเรียนครั้งแรกในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2486 แล้วต้องพักการเรียน เพราะภัยจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกือบ 3 ปี ในระหว่างนี้ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดทองนพคุณ อันเป็นช่วงที่ได้รับประสบการณ์จากระบบการศึกษาของวัดในพุทธศาสนา แล้วกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 จนสำเร็จการศึกษา
พ.ศ. 2500 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านปรัชญาประวัติศาสตร์ และวรรณคดี จากวิทยาลัยเซนต์เดวิด เมืองแลมปีเตอร์ ในแคว้นเวลส์
พ.ศ. 2503 เนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักเดอะมิดเดิ้ล เทมเปิล
พื้นฐานทางครอบครัว
ครอบครัวของ ส. ศิวรักษ์ มีเชื้อสายไทย-จีน โดยบรรพบุรุษทั้งหมดมาจากเมืองจีนเดินทางเข้ามาตั้งรกราก และแต่งงานกับคนไทยตั้งแต่
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แม้พื้นฐานครอบครัวจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนก็ตาม แต่ก็ได้ผสมผสานจนกลายเป็นครอบครัวคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นหลัก ส่วนพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นตระกูลที่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่รับราชการในส่วนกลาง แต่ในช่วงที่สุลักษณ์เกิดนั้น เป็นช่วงที่ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำเกือบถึงขีดสุด จึงแยกครอบครัวมาอยู่ที่ ซอยสันติภาพ ถนนนเรศ อันเป็นบ้านที่สุลักษณ์อาศัยอยู่ในปัจจุบัน
หลังจากที่บิดาถึงแก่กรรมในปี
พ.ศ. 2489 สุลักษณ์ ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ในช่วงมัธยมต้น ก็ต้องช่วยตัวเอง และต่อมาก็ได้รับการอุปการะจากมารดาจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
ผลงานหนังสือ
อาจารย์ป๋วยกับสังคมไทย 2543
สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย 2539
แหวกแนวคิด 2538
ความเข้าใจในเรื่องพระพุทธเจ้า และมหาสาวิกาสมัยพุทธกาล 2534
อโปโลเกีย (โสกราตีสแก้คดี) 2534
ยูไทโฟร (วิธีการของโสกราตีส) 2534
ศิลปะแห่งการแปล 2534
ที่สุดแห่งยั่วให้แย้ง 2534
ที่สุดแห่งสังคมสยาม 2533
มนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ 2533
สี่สัปดาห์ในออสเตรเลีย หรือไปออสเตรเลียกับพระยาอนุมานราชธน 2532
ควายไม่ฟังเสียงซอ 2532
ปาฐกถาเรื่อง แนวคิดทางปรัชญาไทย 2532
แนวคิดทางปรัชญาการเมืองซอ
อริสโตเติล 2532
คำประกาศความเป็นไท หรือลายไทกับปัญญาชนสยาม 2531
ซากผ่าขวาน 2531
คันฉ่องส่องวรรณกรรม 2531
ดังทางด่า 2531
ทิศทางใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน 2531
ลอกคราบวัฒนธรรมไทย (มาเข้าใจวัฒนธรรมกันดีกว่า) 2531
เสฐียรโกเศศตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2531
ภูฐาน สวรรค์บนดิน 2531
คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย 2531
ภาษาไทยกับคนรุ่นใหม่ 2530
ทหารกับการเมืองไทย 2530
ศาสนากับการพัฒนา 2530
บันทึกของคนเดินทาง 2530
สยามวิกฤต 2530
ต่างฟ้า ต่างฝัน 2529
ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง 2528
ลอกคราบสังคมไทยเพื่ออนาคต 2528
ลอกคราบสังคมเพื่อครู 2528
เรื่อง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะ ส. ศิวรักษ์ 2528
ก้าวแรกของปรัชญาฝรั่ง รวมเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก 2526
ศิลปะแห่งการแปล 2526
สัมภาษณ์ ม.จ.จงจิตรถนอม ดิศกุล 2529
ศิลปะแห่งการพูด 2526
ศาสนากับสังคมไทย 2525
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตามทัศนะของ ส. ศิวรักษ์ ในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2523 2525
รวมคำอภิปราย บทความและบทสัมภาษณ์ ส.ศิวรักษ์ ที่เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 2525
อยู่อย่างไทย ในสมัยศตวรรษที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมปาฐกถา ส. ศิวรักษ์ ที่แสดงใน ร.ศ.199 2525
พูดไม่เข้าหูคน 2524
คันฉ่องส่องครู 2524
ผู้ใหญ่ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (ทั้งที่กะล่อนและไม่กะล่อน) 2524
โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญา 2523
บุคคลร่วมสมัยในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2523
ห้าชีวประวัติในทัศนะ ส.ศิวรักษ์ 2523
ศาสนากับสังคมไทย 2523
อนาคตของไทยในสายตา ส. ศิวรักษ์ 2522
อนาคตและอุดมคติสำหรับไทย 2522
คันฉ่องส่องพระ 2522
คันฉ่องส่องศาสนา 2522
พระผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน พระธรรมเจดีย์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522
ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2522
คุยกับกรมหมื่นพิทยลาภฯ 2520
ศาสนากับการพัฒนา 2519
นักปรัชญาการเมืองฝรั่ง 2519
คุณความดีสอนกันได้หรือไม่ - แปลจากเมโน 2518
จดหมายเหตุจากถนอมถึงคึกฤทธิ์ (ผ่านสัญญา และเสนีย์) 2518
ตายประชดป่าช้า 2516
กินน้ำเห็นปลิง 2516
อดีตของอนาคต 2516
ปรัชญาการศึกษา 2516
ปีแห่งการอ่านหนังสือของ ส. ศิวรักษ์ 2515
สมุดข้างหมอน 2514
จากยุววิทยา ถึงวิทยาสารปริทัศน์ 2514
ตามใจผู้เขียน 2514
วาระสุดท้ายของโสกราตีส 2514
โสกราตีสในคุก 2514
วิธีการของโสกราตีส 2514
คุยคนเดียว ของส. ศิวรักษ์ 2513
ปัญญาชนสยาม 2512
นอนต่างแดน 2512
สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศ 2512
ชวนอ่านและวิจารณ์หนังสือต่างๆ ของส. ศิวรักษ์ 2512
สัมภาษณ์เสฐียรโกเศศและพระยาอนุมานราชธนที่ข้าพเจ้ารู้สึก 2512
ไทยเขียนฝรั่ง 2511
แนะหนังสือสำหรับผู้หญิง ของ ส.ศิวรักษ์ 2513
สรรพสาระ ของ ส. ศิวรักษ์ 2511
ลายสือสยาม 2510
ความคิด-ความอ่าน และ นานาสังวาส ส.ศิวรักษ์ 2510
พระดีที่น่ารู้จัก 2510
ฝรั่งอ่านไทย และแบบอย่างการแปลหนังสือ กับเรื่องแปลต่าง ๆ 2510
ของดีจากธิเบต รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในธิเบต 2510
หนังสือสนุก 2508
จดหมายรักจากอเมริกา 2508
คันฉ่องส่อง ส.ศิวรักษ์ 2508
โสกราตีส บุคคลิกลักษณะ ประวัติและปรัชญาโดยบริบูรณ์ 2507
ทฤษฎีแห่งความรัก 2507
ช่วงแห่งชีวิตของ ส.ศิวรักษ์ แต่ก่อนเกิดจนจบการศึกษาจากเมืองอังกฤษ 2507
ศิวพจนาตถ์ 2506
เสด็จอังกฤษ 2505
มาพูดภาษาไทยกันดีกว่า 2504
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2501

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพ่อแห่งชาติ



ความเป็นมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ( วันพ่อ )
5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้