วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ปริศนาเจ้าหญิงอนาสตาเซีย


แกรนด์ ดัชเชส อนาสตาเซีย แห่งรัสเซีย (Grand Duchess Anastasia Nikolaevna of Russia) ทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่4ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่2และพระนางอเล็กซานดราแห่งราชวงศ์โรมานอฟ (Romanov)แห่งรัสเซีย
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่2และพระนางอเล็คซานดราทรงมีพระโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น4พระองค์คือเจ้าหญิงโอลกา เจ้าหญิงมาเรีย เจ้าหญิงทาเทียนา เจ้าหญิงอนาสตาเซียและเจ้าชายอเล็กเซย์
เจ้าหญิงอนาสตาเซีย ถูกสันนิษฐานว่าทรงถูกประหารพร้อมพระบิดา พระมารดาและเชื้อพระวงศ์ เมื่อวันที่ 17กรกฎาคมค.ศ.1918 เมื่อพระนางมีพระชนมายุเพียง17ชันษา โดยกองกำลังตำรวจลับบอลเชวิคแต่ได้มีการเล่าขานว่า เจ้าหญิงอนาสตาเซีย เป็นพระธิดาองค์เดียวที่ทรงรอดมาได้จากการถูกสังหารของกองตำรวจลับ บอลเชวิค เพราะขณะที่ฝ่ายบอลเชวิคยิงประหารพระองค์กระสุนได้กระทบกับเครื่องประดับ ที่เป็นอัญมณีและกระเด้งหายไป แต่พระองค์ก็ทรงแกล้งสิ้นพระชนม์
เรื่องเล่าขานนี้ถือเป็นเรื่องที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่กี่ปีต่อมาหลังจากการประหารได้มีข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วว่าแกรนด์ดัชเชสองค์เล็ก ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ในที่สุด ใน ค.ศ. 1922 ก็ได้มีสตรีผู้หนึ่งนามว่า แอนนา แอนเดอร์สัน ประกาศตนว่าเป็นอนาสตาเซีย แต่ก็ได้มีการตรวจดีเอ็นเอใน ค.ศ. 1994และผลที่ได้คือ เธอมิใช่อนาสตาเซียตามที่อ้างแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ผู้สนับสนุนหลายคนปฏิเสธผลการพิสูจน์นี้ อีกผู้หนึ่งที่อ้างว่าตนคืออนาสตาเซีย คือ ยูจิเนีย สมิธ ใน ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มโต้เถียงเรื่องอนาสตาเซีย แต่คำกล่าวอ้างของเธอไม่สอดคล้องกับความจริง
ใน ค.ศ. 1991ได้มีการค้นพบพระศพ 2 พระศพ พระศพหนึ่งเป็นของ ซาเรวิช อเล็กเซย์ พระโอรสองค์เล็ก และอีกพระศพซึ่งได้รับการยืนยันจากนักวิชาการว่าคือพระศพของ อนาสตาเซีย ทั้ง 2 พระศพมิได้ถูกฝังร่วมกับพระบิดา พระมารดา และพระภคินี แต่ถูกเผาโดยกลุ่มคนที่ไม่ทราบแน่ชัดในป่าข้างๆ สุสาน
ใน ค.ศ. 2000คริสต์จักรนิกายรัสเซียนออร์โธดอกส์ได้ประกาศให้ พระเจ้าซาร์นิโคลัส พระนางอเล็กซานดรา แกรนด์ดัชเชสโอลกา แกรนด์ดัชเชสทาเทียนา แกรนด์ดัชเชสมาเรีย แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย และ ซาเรวิช อเล็กเซย์

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ไอศกรีมดอกไม้

ดอกไม้นอกจากจะนำมาปรุงแต่งขึ้นโต๊ะอาหาร เป็นเมนูเพื่อสุขภาพระดับภัตตาคารแล้ว ล่าสุดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จฯ ส่งผลงานวิจัยไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ ให้เอสเอ็มอีในตลาดน้ำอัมพวาผลิตสู่ตลาด ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระ ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำดอกไม้ ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ที่วิจัยร่วมกับบริษัทอุตสาหกรรมขนมไทย จำกัด โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยมอบทุนวิจัย 1 แสนบาท"เราวิจัยดอกไม้ท้องถิ่นที่พบใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตั้งแต่ปี 2550 ช่วงแรกมุ่งวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระ พบดอกไม้หลายชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่น่าพอใจ" ดร.อัจฉรา แก้วน้อย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวผลวิจัยพบดอกไม้ 5 ชนิดที่โดดเด่นคือ ดาหลา ดอกเข็ม กุหลาบมอญ ดอกบัวและอัญชัน โดยดอกดาหลามีสารต้านอนุมูลอิสระมากสุดถึง 84.72% ตามาด้วยดอกเข็ม 83.97% กุหลาบมอญ 82.67% เกสรดอกบัว 73.23%และอัญชัน 26.33%“งานวิจัยระดับท้องถิ่นช่วยสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งสามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเผยแพร่สู่สาธารณะ ทีมวิจัยยังได้วิจัยร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งอื่น โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการวิจัยร่วมกัน”ดร.อัจฉรา ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย กล่าว นอกจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำดอกไม้และไอศกรีมดอกไม้แล้ว ทีมงานยังขยายโครงการวิจัยต่อ โดยแปรรูปดอกไม้ต้านอนุมูลอิสระเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงในอาหารคาวหวานน.ส.ปัญจรัตน์ วงศ์นภาพรรณ ผู้ประกอบการ บริษัทไอศกรีม วันมอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับทีมวิจัย มบส.พัฒนาไอศกรีมดอกไม้ไทยเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยใช้สารสกัดจากดอกไม้ 5 ชนิดข้างต้นที่พบสารต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นส่วนผสมสำคัญ พร้อมทั้งปรับปรุงรสชาติให้หลากหลายถึง 15 รสชาติ แต่จากการทดสอบชิมโดยอาสาสมัครประมาณ 300 คน พบเพียง 5 รสชาติเท่านั้นที่พึงพอใจ“การพัฒนาสูตรไอศกรีมดอกไม้ให้รสชาติอร่อย มีส่วนผสมที่ลงตัว ถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่พอทุกอย่างนิ่งแล้ว การปรับรสชาติ หวาน เปรี้ยว ตามความพึงพอใจของผู้บริโภคสามารถทำได้”ไอศกรีมดอกไม้ทั้ง 5 รสชาติ ได้แก่ ดาหลาไวน์ใช้สารสกัดจากดอกดาหลา เข็มสตรอเบอรี่เชอเบทใช้สารสกัดจากดอกเข็ม กุหลาบนมใช้สารสกัดจากดอกกุหลาบมอญ บัวนมใช้สารสกัดจากเกสรดอกบัว และอัญชันมะพร้าวอ่อนใช้สารสกัดจากดอกอัญชันผลิตภัณฑ์ไอศกรีมดอกไม้จะจัดแสดงในงานนิทรรศการแสดงผลงานพัฒนาเทคโนโลยีทุนปริญญาตรี สกว. ครั้งที่ 7 ( IRPUS 52) ระหว่างวันที่ 27-29 มี.ค.นี้ ณ สยามพารากอน และวันที่ 1-5 เม.ย.ในงานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

เวรกรรม ปฏิทินของชาวมายา (ชาวเผ่ามายาแห่งอเมริกากลาง) นั้นสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) หรือวันนั้นโลกมนุษย์จะวิบัติ


Copy มาจาก ปฏิทินของชาวมายากับปี 2012 ฤาโลกจะเปลี่ยนไปบทความวันนี้ เป็นข้อมูลเก่าแก่ที่ถูกทิ้งไว้นับพันๆ ปีโดยไม่ มีคนสนใจ ข้อมูลที่มีส่วนหนึ่งพ้องจองกับความเห็นและการคาดการณ์ทาง ด้านวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ ที่กล่าวมาข้างบนนั้นอย่างน่าแปลกใจ แต่ส่วนหนึ่งจะเป็นประเด็นทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะการเปลี่ยนย้าย กระบวนทัศน์ของมนุษยชาติและสังคมอย่างน่าสนใจ แม้ว่าอีกส่วนใหญ่ของ ข้อมูลเก่าแก่ที่ว่านี้จะเป็นคำทำนาย (กินเวลายาวนานถึง 64 ล้านปีของอ นาคต) ที่อยู่นอกความรู้ความเข้าใจจนเกินไป จนเป็นเหตุให้ข้อมูลถูกโยน ทิ้งหรือเก็บไว้จนหลงลืมกันไปทั้งหมด กระทั่งมีการรื้อฟื้นนำมาศึกษาติดตาม กันใหม่เมื่อทศวรรษที่แล้วๆ มานี้เองข้อมูลส่วนหนึ่งที่น่าสนใจดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่นักศึกษาด้าน ความสัมพันธ์ของวิชาความรู้ต่างสาขาน่าจะลองอ่านดู จริงๆ แล้วข้อมูลทั้ง หมดที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ เป็นกรณีศึกษาของโครงการรายวิชาของสถาบัน ความสัมพันธ์ทางความรู้ที่คณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (California Insitute of Integral Studies) และกำลังเป็นประเด็นร้อนที่พูด กันมากในประเทศตะวันตกในเวลานี้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เรียกกันว่ากลุ่ม นิวเอจ (newagers) และกลุ่มวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Cultural Creatives or CC) ด้วย นั่นคือสภาพของความสะท้านสะเทือนระดับโลกที่จะเกิดขึ้น ในปี 2012 และหลังจากนั้น (the shock of 2012) ซึ่งก็เป็นช่วงเวลา เดียวกับช่วงเวลาของการเดินทางของจิตวิญญาณ สู่มิติของธรรมจิตธรรม วิญญาณ (spiritual dimension)ข้อมูลดังกล่าว ได้มีการบันทึกเอาไว้ในปฏิทินของชาวเผ่า มายาแห่งอเมริกากลาง (Maya Calendar) มาตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของคริสตกาล ชาวมายาเป็นชนเผ่าพันธุ์หนึ่งที่อยู่บริเวณพื้นที่ของกัวเตมาลา และบริเวณที่ เผ่าเซียปาสของเม็กซิโกอาศัยในปัจจุบัน แต่ไม่มีใครรู้ที่มาของชาวมายาว่า มาจากไหน เพราะเป็นชนผิวขาวร่างสูงและจมูกโด่ง มีริมฝีปากบางที่เป็น ตรงกันข้ามกับเผ่าโอลเม็คที่เป็นชนเผ่าเก่าแก่ที่สุดของอเมริกากลาง เป็นตรง กันข้ามในทุกกรณีดังภาพวาดภาพปั้นที่หลงเหลือมาตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนคริสต กาล (อารยธรรม La Venta อาจย้อนหลังไปถึง 800 ปีก่อนคริสตกาล) นักมนุษยศาสตร์และนักโบราณคดีบางคนคิดว่า ชาวมายามีที่มาจากชาวกรี กหรืออียิปต์ในยุคหลังๆ (Jonarthan Leonard ; Ancient America, Time- Life Book, 1968) และที่น่าแปลกอีกก็คือ อยู่ๆ ชาวมายาทั้งเผ่าพันธุ์ก็ สลายหายตัวไปโดยไร้ร่องรอยหรือหลักฐานทางวิชาการใดๆ หลงเหลือให้นัก โบราณคดีสืบเสาะได้เลยปฏิทินของชาวมายานั้นเป็นผลของการคำนวณทางดาราศาสตร์ ที่แม่นยำที่สุดยิ่งกว่าปฏิทินใดๆ การคำนวณเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ตามที่ บันทึกไว้นั้น (ชาวมายามีปฏิทินหลักหนึ่งปฏิทิน และมีปฏิทินที่คำนวณ เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์อีก 22 ปฏิทิน) ที่มีความแม่นยำอย่างไม่น่าเชื่อ และยังไม่เคยปรากฏว่าผิดไปจากความจริง หรือแตกต่างไปจากการคำนวณ ของนักดาราศาสตร์ในเวลาปัจจุบันแม้แต่รายการเดียว ดังรายละเอียดบาง อย่างของปฏิทินของชาวมายาที่เอามาลงเพื่อให้ผู้อ่านสนใจจะได้พิจารณา และอาจติดตามต่อไปจากเอกสารอ้างอิงไว้ที่ท้ายของบทความนี้ชาวมายาสามารถคำนวณเวลาของการโคจรของดาวเคราะห์วิ่ง รอบดวงอาทิตย์ ที่ชาวมายารู้แต่แรกว่าเป็นแกนกลางของระบบสุริยะ ระบบที่เป็นเพียงส่วนน้อยส่วนหนึ่งของแขน (arm) หนึ่งของกาแล็กซีที่ชาว มายาบอกว่ามีแกนที่เป็นดวงอาทิตย์ศูนย์กลางอีกดวงหนึ่ง (sun alcione เป็นดาวฤกษ์ในกลุ่มไพลเอดส์) ปฏิทินของชาวมายาระบุว่า ดาวศุกร์ใช้เวลา เดินทางไปรอบดวงอาทิตย์ 584 วัน ซึ่งเท่ากับที่เป็นเวลาที่เรารู้กันทุกวันนี้ หรือบันทึกว่าโลกใช้เวลาเดินทางรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบหรือหนึ่งปีเท่ากับ 365.2420 วัน ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงทางดาราศาสตร์ปัจจุบันคือ 365.2422 วัน ปฏิทินของชาวมายายังระบุว่า ระบบสุริยะมีวัฏจักรของการเคลื่อนที่ไออยู่ใน ระนาบเดียวกัน (ecliptic) กับระนาบของแกนของแขนกาแล็กซีที่กล่าวมา ข้างต้นในทุกๆ 26,000 ปี โดยมีครึ่งหนึ่งของวัฏจักร จะมีวันที่เรียกว่า อะควิน็อกซ์ หรือวันที่มีเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนเปลี่ยนไป (เช่นวันที่ 23 กันยายน คือวันอะควิน็อกซ์ของฤดูใบไม้ผลิของปฏิทินของปัจจุบัน) ระบบสุริยะ (รวมทั้งโลกและดาวเคราะห์ทั้งหลาย) จะเข้าสู่ระนาบเช่นนั้นใน เดือนธันวาคม ปี 2012 นี้หลังจากปี 2012 มีสี่ประการที่จะเกิดขึ้นคือ..1.มนุษยชาติจะก้าวล่วงเทคโนโลยีที่เราใช้และรู้จักในขณะนี้ แทบทั้งหมด2.มนุษยชาติจะก้าวล่วงรูปแบบของเวลาและเงินในรูปที่ใช้กัน ในขณะนี้3.เราจะผ่านเข้าสู่มิติที่ห้าอันเป็นมิติจิตวิญญาณ - จากมิติที่สี่ - วิกฤติที่เจ็บปวด4.ระนาบของระบบสุริยะจะอยู่ในระนาบเดียวกับระนาบของ กาแล็กซีปฏิทินมายาบอกด้วยว่า ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1987 กระทั่งถึงช่วงปี 2012 เป็นช่วงเวลาระหว่างกลางของมิติที่ 4 สู่มิติที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงอันตราย เพราะเป็นช่วงที่จะมีความล่มสลายในทางธรรมชาติ และจิตวิญญาณของชาวโลกส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็จะมีการเปลี่ยน แปลงทางจิตวิญญาณของคนอีกส่วนหนึ่ง (apocalypse แปลว่าการเปิดเผยที่ หมายถึงวิวัฒนาการทางจิตอีกด้วย) น่าแปลกที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของ เวลาจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความถี่ของกระแสแม่เหล็กโลก ที่สะท้อนออกมาตามการหมุนรอบตัวเองของโลก (Schumann Resonance ที่เคยคงที่ที่ความถี่ 7.8 เฮิรตซ์ หรือรอบต่อวินาทีทุกวันนี้ได้สูงขึ้นเป็น 11.8 รอบต่อวินาที)โดยปฏิทินของชาวมายา มิติที่ 5 หรือหลังปี 2012 คือช่วงเวลาที่มนุษยชาติส่วนหนึ่ง จะมีวิวัฒนาการสู่แสงใสกระจ่าง (แปลกอีกที่ใช้คำว่า clear light เช่นเดียวกับในคัมภีร์พีระมิดของอียิปต์ และคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบต ที่มีความหมายสู่จิตวิญญาณบริสุทธิ์) (Erich Von Danikens, Chariots of the Gods, 1970 ; Jonathan Leonard ; Ancient America, 1968 ; Handbook of Atmospheric Electro-dynamics, 1995 ; 2012 Unlimited.ชาวพุทธทุกคนทราบดีว่า พุทธศาสนามีอายุ 5,000 ปี แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นค่ะประเด็นอยู่ที่ ในวันภัยพิบัติ คนที่จะรอดชีวิต ต้องมีศีลมีธรรม จากคุณ : dee - [22 พ.ค.52 22:28]

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

Liechtenstein


The Principality of Liechtenstein / (help·info) (German: Fürstentum Liechtenstein, (help·info), Principality of Liechtenstein) is a doubly landlocked alpine microstate in Western Europe, bordered by Switzerland to the west and south and by Austria to the east. Its area is just over 160 km² (about 61.7 square miles) and it has an estimated population of 35,000. Its capital is Vaduz; the biggest town is Schaan.
Liechtenstein is the smallest German-speaking country in the world, and the only alpine country to lie entirely within the Alps. It is also the only German-speaking country not to share a common frontier with Germany. It is a constitutional monarchy divided into 11 municipalities. Much of Liechtenstein's terrain is mountainous, making it a winter sports destination. Many cultivated fields and small farms characterize its landscape both in the north (Unterland, lower land) and in the south (Oberland, upper land). The country has a strong financial sector located in the capital, Vaduz, and has been identified as a tax haven. It is a member of the European Free Trade Association. Liechtenstein is not part of the European Union.

History

Main article: History of Liechtenstein
At one time, the territory was part of the ancient Roman province of Raetia. For centuries this territory, geographically removed from European strategic interests, had little impact on European history. Prior to the reign of its current dynasty, the region was enfeoffed to a line of the counts of Hohenems.
The Liechtenstein dynasty, from which the principality takes its name, comes from Castle Liechtenstein in Lower Austria, which the family possessed from at least 1140 until the 13th century, and from 1807 onward. Through the centuries, the dynasty acquired vast tracts of land, predominantly in Moravia, Lower Austria, Silesia, and Styria, though these territories were all held in fief under other more senior feudal lords, particularly under various lines of the Habsburg family, whom several Liechtenstein princes served as close advisers. Thus, without any territory held directly under the Imperial throne, the Liechtenstein dynasty was unable to meet a primary requirement to qualify for a seat in the Imperial diet (parliament), the Reichstag.
The family yearned for the added power a seat in the Imperial government would bring, and therefore sought to acquire lands that would be unmittelbar, or held without any feudal personage other than the Holy Roman Emperor himself having rights on the land. After some time, the family was able to arrange the purchase of the minuscule Herrschaft ("Lordship") of Schellenberg and county of Vaduz (in 1699 and 1712 respectively) from the Hohenems. Tiny Schellenberg and Vaduz had exactly the political status required: no feudal lord other than their comital sovereign and the suzerain Emperor.
On 23 January 1719, after the lands had been purchased, Charles VI, Holy Roman Emperor, decreed that Vaduz and Schellenberg were united, and elevated the newly-formed territory to the dignity of Fürstentum (principality) with the name "Liechtenstein" in honour of "[his] true servant, Anton Florian of Liechtenstein". It was on this date that Liechtenstein became a sovereign member state of the Holy Roman Empire. It is a testament to the pure political expediency of the purchases that the Princes of Liechtenstein did not set foot in their new principality for over 120 years.

Schloss Vaduz, overlooking the capital, is still home to the Prince of Liechtenstein
As a result of the Napoleonic Wars, by 1806 the Holy Roman Empire was under the control of French emperor Napoleon I. Napoleon dissolved the Empire and this had broad consequences for Liechtenstein: imperial, legal and political mechanisms broke down. The state ceased to owe obligations to any feudal lord beyond its borders.
Modern publications generally (although incorrectly) attribute Liechtenstein's sovereignty to these events. In reality, its prince merely became suzerain, as well as remaining sovereign lord. From 25 July 1806 when the Confederation of the Rhine was founded, the Prince of Liechtenstein was a member, in fact a vassal of its hegemon, styled protector, French Emperor Napoleon I, until the dissolution of the Confederation on 19 October 1813.
Soon afterward, Liechtenstein joined the German Confederation (20 June 1815 – 24 August 1866) which was presided over by the Emperor of Austria.

Johann I Josef, Prince of Liechtenstein
Then, in 1818, Johann I granted the territory a limited constitution. 1818 also saw the first visit of a member of the house of Liechtenstein, Prince Alois; however, the first visit by a sovereign prince would not occur until 1842.
Developments during the 19th century included:
In 1836, the first factory was opened, making ceramics.
In 1861, the Savings and Loans Bank was founded, as was the first cotton-weaving mill.
Two bridges over the Rhine were built in 1868, and in 1872 a railway line across Liechtenstein was constructed.
[edit] 20th century
Until the end of World War I, Liechtenstein was closely tied first to the Austrian Empire and later to Austria-Hungary; the ruling princes continued to derive much of their wealth from estates in the Habsburg territories, and they spent much of their time at their two palaces in Vienna. The economic devastation caused by this war forced the country to conclude a customs and monetary union with its other neighbour, Switzerland. Liechtenstein's army was disbanded in 1868 for financial reasons.
At the time of the dissolution of the Austro-Hungarian Empire, it was argued that Liechtenstein, as a fief of the Holy Roman Empire, was no longer bound to the emerging independent state of Austria, since the latter did not consider itself as the legal successor to the Empire. This is partly contradicted by the coeval Liechtenstein perception that the dethroned Austro-Hungarian Emperor still maintained an abstract heritage of the Holy Roman Empire.

Franz I, Prince of Liechtenstein.
In early 1938, just after the annexation of Austria into Greater Nazi Germany, 84 year old Prince Franz I abdicated, naming his 31 year old third cousin, Prince Franz Joseph, as his successor. While Prince Franz I claimed that old age was his reason for abdicating, it is believed[who?] that he had no desire to be on the throne if Germany were to gobble up Liechtenstein. His wife, whom he had married in 1929, was a wealthy Jewish woman from Vienna, and local Liechtenstein Nazis had already identified her as their Jewish "problem". Although Liechtenstein had no official Nazi party, a Nazi sympathy movement had been simmering for years within its National Union party.[5]
During World War II, Liechtenstein remained officially neutral, looking to neighboring Switzerland for assistance and guidance, while family treasures within the war zone were taken to Liechtenstein (and London) for safekeeping. At the close of the conflict, Czechoslovakia and Poland, acting to seize what they considered to be German possessions, expropriated the entirety of the Liechtenstein dynasty's hereditary lands and possessions in Bohemia, Moravia, and Silesia — the princes of Liechtenstein lived in Vienna until the Anschluss of 1938. The expropriations (subject to modern legal dispute at the World Court) included over 1,600 km2 (618 sq mi) of agricultural and forest land, and several family castles and palaces.
Citizens of Liechtenstein were also forbidden to enter Czechoslovakia during the Cold War. More recently the diplomatic conflict revolving around the controversial post-war Beneš decrees has resulted in Liechtenstein not sharing international relations with the Czech Republic or Slovakia. The issue with Slovakia is yet to be resolved, however, Liechtenstein and the Czech Republic established diplomatic relations on 13 July 2009.[6][7][8]
Liechtenstein gave asylum to about 500 soldiers of the First Russian National Army (a collaborationist Russian force within the German Wehrmacht) at the close of World War II; this is commemorated by a monument at the border town of Hinterschellenberg which is marked on the country's tourist map. The act of granting asylum was no small matter as the country was poor and had difficulty feeding and caring for such a large group of refugees. Eventually, Argentina agreed to resettle the asylum seekers permanently. In contrast, the British repatriated the Russians who had fought for Germany to the USSR, and many of them perished in the Gulag.
In dire financial straits following the war, the Liechtenstein dynasty often resorted to selling family artistic treasures, including the priceless portrait "Ginevra de' Benci" by Leonardo da Vinci, which was purchased by the National Gallery of Art of the United States in 1967. Liechtenstein prospered, however, during the decades following, as it used its low corporate tax rates to draw many companies to the country.
The Prince of Liechtenstein is the world's sixth wealthiest leader with an estimated wealth of USD $5 billion.[9] The country's population enjoys one of the world's highest standards of living.

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การปฏิวัติฝรั่งเศส

สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

สภาพทางสังคม
สมัยนั้น สังคมของ
ฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ใน
รัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก
การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บ
ภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทาง
ศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี
พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี
พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี
พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

6 ข้อควรรู้สำหรับนักดื่มไวน์


แปลมาจากนิตยสารต้อนรับเข้าชมรมของชมรมนักดื่มของทางอังกฤษนะครับ


1) ฉลากไวน์บนฉลากมักจะมีข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับไวน์ไว้สำหรับผู้ที่ต้องการทราบ เช่น ชื่อของไวน์ ผลิตจากประเทศไหน จำนวนปีที่บ่ม หรือบางครั้งอาจมีชนิดขององุ่นที่ใช้ในการทำไวน์ด้วย นอกจากนั้นก็จะมีระดับคุณภาพตามที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


2) การเสิร์ฟไวน์ไวน์ขาวและแชมเปญจะเสริ์ฟขณะเย็นๆเล็กน้อย ส่วนไวน์แดงจะเสริ์ฟที่อุณหภูมิห้อง การเปิดขวดไวน์แดงนั้นจะมีเทคนิคนิดหน่อยเพื่อให้ไวน์ได้"หายใจ" รินลงในแก้วที่มั่นใจว่าสะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกหรือน้ำยาล้างจานตกค้าง ประมาณ 1/3 ของแก้ว ก่อนดื่มอาจจะสูดกลิ่นของไวน์ก่อนก็ได้


3) จับคู่ไวน์กับอาหารสำหรับไวน์ที่มีรสชาติลุ่มลึกเป็นพิเศษนัน้จะมีทริคนิดหน่อยในการจับคู่กับอาหารเพื่อให้ได้รสชาติที่สมดุลกัน เช่น การไม่เสิร์ฟไวน์แดงซึ่งมีรสชาติเข้มข้นกับอาหารทะเลรสชาติอ่อน หรืออาหารเนื้อรสจัดกับไวน์ขาวรสอ่อน ปัจจัยอื่นๆที่ใช้พิจารณาก็เช่น ความเป็นกรด ความหวาน ความเผ็ด โดยทั่วไป อาหารของประเทศไหนก็ควรจะเสริ์ฟกับไวน์จากประเทศนั้น เช่นเสิร์ฟไวน์ฝรั่งเศสคู่กับอาหารฝรั่งเศส เสิร์ฟไวน์สเปนคู่กับอาหารสเปน
สำหรับอาหารรสเผ็ดอย่างแกงไทยหรือแกงอินเดียนั้น เข้าคู่ได้ดีที่สุดกับไวน์ขาวที่มีรสเข้มข้นอย่าง New World Chardonneys หรือ เซมิลญอง ส่วนอาหารจีนและอาหารไทยทั่วไปนั้นเข้ากันได้ดีกับไวน์ขาวที่อ่อนกว่า อาหารย่างของอังกฤษเหมาะกับไวน์แดงอ่อนๆ นอกนั้น ไวน์แดงก็ใช้ดื่มคู่กับอาหารประเภทปลาได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นไวน์ขวอย่างเดียว


4) ไวน์ที่เหลือไวน์ขาวเก็บไว้ได้สองวัน ไวน์แดงสามวัน โดยต้องปิดขวดใหม่แล้วเก็บในที่เย็นและมืด ถ้าหลังจากนั้นแล้วไม่ควรดื่ม ใช้แค่ในการประกอบอาหารเท่านั้น สำหรับแชมเปญหรือไวน์ซ่านั้นเก็บความซ่าไว้ได้โดยฝาแบบพิเศษและเก็บในตู้เย็น นอกจากนั้นยังมีไวน์บางชนิดที่เก็บได้หลายสัปดาห์หลังจากเปิดแล้เพราะมีการผสมเหล้าสปิริตลงไปด้วย


5) ดื่มเมื่อ...ไวน์ส่วนมากจะขายอยู่ในสภาพพร้อมดื่มอยู่แล้ว ไวน์แดง ไวน์ขาว ไวน์โรเซ่ แชมเปญ ไวน์ซ่าควรดื่มภายใน 6 เดือนหลังจากซื้อมา แต่ก็มีไวน์บางชนิดที่สามารถเก็บได้เป็นปีๆเพื่อบ่มต่อหรือทำให้รสชาติดีขึ้น


6) การเก็บไวน์ไวน์ที่ซื้อมาเพื่อดื่มภายใน 24 ชั่วโมง ปกติแล้วจะเก็บให้พ้นจากแสงแดดและความร้อน หรือเก็บในที่เย็น (แต่ไม่ใช่เย็นเฉียบ) และพ้นจากสิ่งที่มีกลิ่นฉุน (เช่นน้ำมัน) และวางขวดในแนวนอนเพื่อป้องกันจุกคอร์กแห้ง ซึ่งจะทำให้อากาศเข้าไปในขวดได้