วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

Palio เขาใหญ่


Palio หรือ ปาลิโอ ตั้งอยู่บนถนนธนะรัชต์ หลักกิโลเมตรที่ 17 ติดกับโรงแรมจุลดิศ เขาใหญ่ รีสอร์ท แอนด์ สปา ก้าวแรกที่ได้ไปสัมผัส Palio เขาใหญ่ แอบคิดในใจเล่นว่า "นี่เราข้ามน้ำข้ามทะเลมาไกลถึงประเทศอิตาลีเลยเหรอเนี่ย" ก็แหม บรรยากาศมันพาไปจริง ๆ ประหนึ่งว่ากำลังเดินอยู่กลางกรุงโรม ^_^ เพราะไม่ว่าจะเป็นอาคารถูกออกแบบให้เป็นกลุ่มอาคารถนนคนเดิน หรือสถาปัตยกรรมยุโรปโบราณแนวอิตาเลี่ยนสไตล์ที่รายล้อม แถมคำว่า Palio ยังเป็นภาษาอิตาเลียน หมายถึง "รางวัล" อีกด้วย

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ผักผลไม้ป้องกันมะเร็ง

ข้อแนะนำเพื่อการป้องกันมะเร็งo ไม่สูบบุหรี่ ไม่เคี้ยวยาสูบ o งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ o กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารในแต่ละมื้อ o เลือกอาหารที่มีพืชหลากหลายชนิด เป็นองค์ประกอบหลัก o จำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง o เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ o จำกัดอาหารเค็ม o ไม่กินอาหารที่ไหม้เกรียมบ่อยๆ o เตรียม และเก็บอาหารอย่างถูกสุขอนามัย o ออกกำลังกายสม่ำเสมอ o รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน o พักผ่อนให้เพียงพอ o ตรวจเช็คสุขภาพสม่ำเสมอ
พืชผัก - ผลไม้นอกจากมีเส้นใยอาหาร แล้วยังประกอบไปด้วยสารต้านมะเร็งอีกมากมายหลายชนิดมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับหนึ่ง ในคนไทย มะเร็งเป็นโรคร้ายแต่สามารถป้องกันได้ กินอาหารที่ประกอบด้วยผัก - ผลไม้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารที่กิน หรือ 500 กรัมต่อวัน และลดอาหารไขมันสัตว์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ 20-30%
จากผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ในประชากรที่กินอาหาร ประกอบด้วยพืชผัก และผลไม้มากเป็นประจำ จะมีอัตราการเกิดมะเร็งน้อยกว่า ในประชากรที่กินอาหารเนื้อสัตว์มาก และกินผักผลไม้น้อย
ใน ผัก - ผลไม้ มีเส้นใยอาหาร เกลือแร่ วิตามัน และสารหลายชนิด (bioactive compounds) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน โรคอัลไซเมอร์ และชะลอความแก่ชราได้อีกด้วยกินผัก ผลไม้สด วันละ 500 กรัม เป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ 20% (มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร ปอด กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เต้านม กระเพาะปัสสาวะ)
เส้นใยอาหารเส้นใยอาหารโดยทั่วไป หมายถึง สารจากพืชที่ไม่ย่อยสลายด้วยเอนไซม์ ในทางเดินอาหารของคน การกินอาหารที่มีเส้นใยสูง มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งเต้านม ช่องปาก กระเพาะอาหาร และทวารหนัก เป็นต้น
สารเม็ดสีในพืชสารเม็ดสีในพืชมีคุณสมบัติต้านมะเร็งหลายชนิด เช่น ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้o คลอโรฟิลล์ สารสีเขียว พบในพืชใบเขียวทั่วไป เช่น คะน้า ผักโขม ตำลึง และสาหร่าย เป็นต้น o สารคาโรทีนอยด์ สารสีส้ม - เหลือง และ แดง - ส้ม มีหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน ลูทีน ไลโคปีน เป็นต้น พบในแครอท ฟักทอง มะเขือเทศ และผักใบเขียวอื่นๆ o สารแอนโทไซยานิดิน สารสีน้ำเงิน ม่วง แดง พบในหัวบีทเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่นม่วง และแดง กะหล่ำม่วง เป็นต้น
ผักตระกูลกะหล่ำพืชตระกูลกระหล่ำมีหลากชนิด เช่น บรอคโคลี กระหล่ำปลี ดอกกระหล่ำ หัวผักกาด มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น sulforaphane และสาร isothiocyanate ซึ่งช่วยขับพิษสารเคมี สาร indole สามารถจับสารก่อมะเร็ง ขับพิษสารเคมี และรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน สาร glucosinolate ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก เป็นต้น
ส้ม - มะนาวส้ม - มะนาว นอกจากมีวิตามินซีแล้ว ยังประกอบไปด้วยสารอื่น อีก เช่น สาร flavonoids ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ยับยั่งการแข็งตัวของเลือด ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง สาร limonoids ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการขับพิษ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก สาร limonoids มีคุณสมบัติกระตุ้นการขับพิษ สาร carotenoids มีคุณสมบัติยับยั้งอนุมูลอิสระ สาร terpenes ลดการสร้างคลอเรสเตอรอล และส่งเสริมเอนไซม์ที่ยับยั้งสารก่อมะเร็ง
หอม - กระเทียมพืชประเภท หอม - กระเทียม มีสารป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น สาร diallyl disulfide และ daillyl trisulfide พบในน้ำมันกระเทียม สาร S-allyl cystein พบในกระเทียมทุบ สารเหล่านี้มีกลไกการทำงานหลายอย่าง เช่น กระตุ้นการขับพิษ ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
เห็ด และสาหร่ายทะเลสาร lentinan ในเห็ดหอม และเห็ดหลินจือ และสาร polysaccharide ในเห็ด Mitake สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสามารถยับยั้งการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง ในสาหร่ายทะเลมีสาร mucin ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเส้นใยอาหาร จะดูดซับน้ำ และสารพิษ นอกจากนี้ยังพบสาร mucopolysaccharide ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
เครื่องเทศในเครื่องเทศ พบสารต้านมะเร็ง เช่น พริกไทย ขิง ขมิ้น rosemary และอื่นๆ สารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระ
ผัก - ผลไม้อื่นๆo สับปะรด มีสาร bromelain ต้านมะเร็งในสัตว์ทดลอง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง o ทับทิม แอปเปิล องุ่น และสตรอเบอร์รี่ มีสาร Ellagic acid ที่สามารถจับและทำลายพิษ ของสารก่อมะเร็ง o แอสปารากัส อะโวกาโด บรอคโคลี แตงโม มีสาร glutathione เป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และขับพิษสารเคมี o ผักชีฝรั่ง มีสาร polyacetylenes สามารถยับยั้งการสร้างสารส่งเสริมมะเร็งได้

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

8 วิธีดีๆ นอนหลับอย่างสุขใจไร้กังวล


สมองและร่างกายใช้เวลาช่วงนอนหลับในการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อ คุณภาพชีวิต ที่ดีของเรา หากท่านสังเกตดูคนที่นอนไม่เพียงพอ หรืออดนอนนานๆ ประสิทธิภาพต่างๆ ในการทำงานจะลดลงเนื่องจากสมองล้า ร่างกาย อ่อนเพลีย และขาดสมาธิ นอกจากนี้ในผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจมี ความวิตกกังวลตึงเครียดง่าย โดยเฉพาะอย่างช่วงเวลาจะเข้านอน เตียงนอนอาจเป็น ที่ไม่สบอารมณ์ได้ง่าย เมื่อถึงเวลานอนเวลานอนกลายเป็นที่ๆ ทำให้วิตก กังวลเมื่อนึกถึงว่า คืนนี้จะหลับได้หรือไม่ หรือคืนนี้คงไม่หลับ อีกตามเคยอย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับและอาการวิตกกังวล ตึงเครียด เหล่านี้สามารถลดลงหรือหายไปได้ หากมีการปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับ (sleep hygiene) และฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง



1. การเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวันจะทำให้เกิดความเคยชิน อยากนอนและตื่นเมื่อถึงเวลา และหากในคืนที่ถัดมาท่านนอนดึกกว่าปกติ ท่านควรตื่นสายหน่อยหรือตรงเวลาเดิมดี คำตอบที่ถูกคือ พยายามตื่นตรง เวลา แม้ท่านจะง่วงในระหว่างวันบ้าง แต่ตกดึกท่านจะหลับได้อย่างรวดเร็ว ลุกจากเตียงนอนทันทีเมื่อตื่น เปิดหน้าต่างสัมผัสแสงสว่างช่วงเช้าๆ (6-7 นาฬิกา) กายบริหารหลังตื่นเบาๆ สัก 10-15 นาที ก่อนทำกิจกรรม อื่นต่อไป จะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ดีกว่า
2. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน เพราะจะรบกวนการนอนที่ต่อเนื่อง ในตอนกลางคืนได้ สำหรับท่านที่ง่วงจนทนไม่ไหวอาจงีบช่วงกลางวันสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาที กายบริหาร หรือออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าง 3-4ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็น จะช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกายและอารมณ์ แต่ไม่ควรปฏิบัติค่ำเกินไป เพราะจะรบกวนการนอนหลับได้ อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วงเย็นถึงก่อนนอน ไม่ควรดื่ม คาเฟอีน เกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มกาเฟอีนช่วงบ่ายลงๆ ถึงเวลานอน อย่าสูบ บุหรี่ก่อนนอนหรือกลางดึก
3. อย่านอนเล่นนานๆ บนเตียง ไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่สำหรับอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือทำงานอื่นๆ การปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่ใช่การนอนหลับบนเตียง จะเร้า ความรู้สึกตื่นในขณะที่เราอยากหลับได้
4. ปรับอุณหภูมิที่พอดีในขณะหลับ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ห้องนอน ที่เงียบและมืด จะช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ดี อาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบาๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภท เนื้อ หรือ โปรตีนมากๆ และหากทานอาหารมื้อก่อนนอนด้วย ควรเป็นเพียงนมหรือ อาหารประเภทมอลล์สกัด น้ำผลไม้ก็เพียงพอแล้ว การนอนหลับจะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพผ่อนคลาย ดังนั้นขณะเข้านอนหากร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดไม่ผ่อนคลาย จะไม่สามารถหลับลงอย่างง่ายดาย จึงควรจัดช่วงเวลาสำหรับผ่อนคลายอารมณ์เป็นกิจวัตรประจำวัน ช่วง 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน โดยหลีกเลี่ยง การทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียด 1-2ชั่วโมงก่อนเข้านอน และหากท่าน เป็นคนตึงเครียดง่าย หรือมีเรื่องที่ต้องขบคิดจำนวนมากตลอดวัน แนะนำ ให้ปฏิบัติดังนี้ใช้เวลาช่วงสั้นๆ หลังอาหารมื้อเย็น จดลำดับเรื่องต่างๆ ที่ทำให้ คิด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า และวางแผนจัดการ แต่ละเรื่อง อย่างคร่าวๆ สั้นๆ ให้ปฏิบัติทุกวันจนเคยชิน
5. หากท่านเข้านอน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับ ให้ลุกจากเตียง หาอะไร ทำเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เปิดเฉพาะแสงไฟอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการดูทีวี ฟังข่าว (เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ตื่น) กลับมาที่เตียง เมื่อง่วงเท่านั้น อย่านอนแช่ อยู่บนเตียงโดยไม่หลับถึงเช้า เพราะจะกระตุ้น ให้เกิดความวิตกกังวล เมื่อเข้า นอนในคืนถัดๆ มาหากไม่ง่วงเลย อาจใช้ยา ช่วยให้หลับเป็นครั้งคราวได้
6. การปฏิบัติสุขอนามัยการนอนที่ถูกต้อง และการขจัดพฤติกรรม ที่รบกวนการนอน ฝึกให้มีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ควรปฏิบัติ ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ พบว่า ช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ง่ายขึ้น
7. ในผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนอนไม่หลับควรปฏิบัติ สุขอนามัยการ นอนหลับ และปรับพฤติกรรมการนอนตั้งแต่แรก จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา นอนไม่หลับ เรื้อรังได้
8. ในผู้ที่ใช้ยาช่วยให้หลับต่อเนื่องมานานกว่า 3-6 เดือน หากหยุดยา ทันทีอาจเกิดอาหารนอนไม่หลับใหม่ จำเป็นต้องค่อยๆ ลดยาลงเรื่อยๆ ร่วมกับการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จนสามารถ หยุดยาลงได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรพึ่งยานอนหลับจะดีที่สุด