วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กว่าจะมาเป็น "น้ำยาลบคำผิด"


เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า อนงค์นางหนึ่งมีนามว่า นางเบ็ต เนสมิธ เกรแฮม (Bette Nesmith Graham) ทำงานในหน้าที่เลขานุการเวลาที่เธอพิมพ์งานผิด เธอต้องเจอกับปัญหาการพิมพ์ผิดซึ่งเธอใช้ยางลบดินสอเป็นตัวช่วยลบทำให้การทำงานทั้งล่าทั้งช้าและไม่เรียบร้อย ต่อมามีเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าออกมาใช้ คราวนี้เธอเผชิญปัญหาหนักกว่าเก่า เพราะไม่สามารถใช้ยางลบดินสอลบทำผิดได้อีกต่อไป ต้องพิมพ์ใหม่สถานเดียว
กว่าจะมาเป็น "น้ำยาลบคำผิด"

เมื่อต้องประสบกับปัญหานี้อยู่บ่อยครั้งเธอจึงหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์น้ำยาลบคำผิดขึ้นมา ในปี ค.ศ.1950 เธอก็ค้นพบวิธีทำน้ำยาลบหมึกแบบง่าย เพียงใช้สีน้ำสีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่กันป้ายสีน้ำสีขาวลงบนกระดาษ แค่ก็สามารถลบคำผิดได้และพิมพ์ซ้ำทับได้แนบเนียน ใช้ง่าย รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้อย่ามีประสิทธิภาพ
ความนิยมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อบรรดาเพื่อนร่วมงานของเธอเห็นเช่นนั้น ก็ขอน้ำยาลบหมึกของเธอมาใช้กันบ้าง และนี้ก็คือจุดกำเนิดน้ำยาป้ายคำผิด correcting fluid
ต่อมาเมื่อมีความต้องการน้ำยาป้ายคำผิดมากๆ นางเกรแฮมจึงพัฒนาสีน้ำสีขาวและทำการผลิตที่บ้านออกจำหน่าย ด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่น กรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เป็นอุสาหกรรมครอบครัวยาวนานถึง 17 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1979 เธอได้ขายกิจการให้บริษัทยิลเล็ต (Gillette) ในราคาที่สูงถึง 47.5 ล้านดอลลาร์ โดยสามารถผลิตน้ำยาลบคำผิดได้ถึง 25 ล้านขวด ออกจำหน่ายไปทั่วโลก
จากปัญหาเล็กๆ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์มาจนถึงทุกวันนี้ ช่างเป็นไอเดียที่น่าชื่นชมจริงๆ เลยนะคะ ขอยกนิ้วให้เลย!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น