กีวีกีวีไม้ผลประเภทเลื้อยเถาในเขตหนาวที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในปี พ.ศ.2407 เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว มิสชันนารีชาวนิวซีแลนด์คณะหนึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน และได้นำ ผลไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "ไชนิส กูสเบอร์รี" (Chinese gooseberries) ไปปลูกลงบนผืนดินของนิวซีแลนด์ ด้วยสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืช ผลไม้ชนิดนี้จึงมีรสชาติดีขึ้น พ.ศ.2502 พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อ "กีวี่ฟรุต" (Kiwifruit) เป็นชื่อใหม่ของผลไม้ชนิดนี้ ตามชื่อนกกีวีที่เป็นนกสัญลักษณ์ของประเทศ ปัจจุบัน นิวซีแลนด์พัฒนาคุณภาพกีวีจนเป็นที่ต้องการของตลาดโลก สามารถส่งออกกีวีไปยังผู้บริโภคใน 70 ประเทศ เฉพาะยุโรปทวีปเดียวก็ทำสถิติขายได้ปีละ 1.5 ล้านล้านผล รวมทั้งส่งกีวีมาจำหน่ายยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทยสำหรับประเทศไทยโครงการหลวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำพันธุ์กีวีฟรุตจากประเทศนิวซีแลนด์เข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และพบว่ากีวีฟรุตบางพันธุ์สามารถออกดอกและติดผลได้ดี มีโอกาสที่จะพัฒนาให้เป็นไม้ผลเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงได้ กีวีฟรุตจึงนับว่าเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพดีชนิดหนึ่งในอนาคตActinidia deliciosa เป็นกีวีฟรุตที่ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของโลก ลักษณะโดยทั่วไปผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขน เนื้อผลสีเขียว มีปริมาณวิตามินซี 100-200 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Hayward สำหรับพันธุ์ที่ปลูกได้ค่อนข้างดีในประเทศไทย คือ พันธุ์ BrunoA. chinensis เป็นกีวีฟรุตชนิดที่เริ่มมีความนิยมที่ปลูกเป็นการค้าใหม่ๆ ขึ้นมามาก พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Hort16A ของนิวซีแลนด์ กีวีฟรุตชนิดนี้ต้องการความหนาวเย็นมากสั้นกว่า A. deliciosa จึงเป็นชนิดที่มีศัยกภาพในการปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย เช่น พันธุ์ Yellow joy จากประเทศญี่ปุ่น และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ จากโครงการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์กีวีฟรุตของโครงการหลวง ส่วนใหญ่กีวีฟรุตเนื้อผลมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขนค่อนข้างสั้น มีปริมาณวิตามินซี ประมาณ 100-200 มิลิลกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม A. arguta มีชื่อเรียกว่า Baby Kiwi, Wee-kis หรือ Grape Kiwi เป็นกีวีฟรุตที่มีการปลูกเป็นการค้าแต่ยังไม่มากนัก ลักษณะโดยทั่วไปผลขนาดเล็ก น้ำหนักผลประมาณ 6-14 กรัม ผิวผลเรียบไม่มีขน รับประทานได้ทั้งเปลือก รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมมีปริมาณวิตามินซี ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Ananasnaya สำหรับประเทศไทยมีหลายพันธุ์ที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าศักยภาพดีกีวีได้ผ่านการวิจัยแล้วว่าเป็นผลไม้ที่มี วิตามินซี และวิตามินอีในสัดส่วนสูง ซึ่งวิตามินทั้งสองชนิดนี้เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (ตัวต้านออกซิแดนท์) ที่ทรงประสิทธิภาพมากมีประโยชน์สำหรับคนทุกเพศทุกวัยกีวี 100 กรัม ให้วิตามินซีสูงถึง 167% ของ RDA (Recommended Daily Allowance) ให้วิตามินซีมากกว่าการบริโภคแอปเปิล ส้ม กล้วย แครนเบอร์รี องุ่น ลูกแพร์ ทับทิม ในปริมาณที่เท่ากันวิตามินอีในกีวีเป็นวิตามินอีที่อยู่ในแหล่งอาหารที่ปราศจากไขมัน จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ในตัว ซึ่งหมายถึงการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจด้วย โพแทสเซียม (331 มิลลิกรัม/กีวี 100 กรัม) ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจวาย โพแทสเซียมช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ผู้มีอายุต้องการโพแทสเซียมช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเส้นใยประสาท กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แต่กล้วยหอม 100 กรัม ให้พลังงานสูงกว่ากีวีถึง 2 เท่า สำหรับคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำคงเผาผลาญพลังงานไปได้ แต่สำหรับคนที่ขาดการออกกำลังกาย พลังงานส่วนเกินที่ได้รับมีผลต่อน้ำหนักตัวที่จะเพิ่มขึ้นไฟเบอร์ (3.4 กรัม/กีวี 100 กรัม) ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างสุขภาพดีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 38 ราย กลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารตามปกติ อีกกลุ่มรับประทานอาหารตามปกติเช่นกันและกินกีวีด้วยอัตรากีวี 1 ผล/น้ำหนักตัว 30 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่กินกีวีด้วยนั้นขับถ่ายสะดวกและสม่ำเสมอกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารตามปกติอย่างเดียว ผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่ให้เส้นใยอาหาร (Fibre หน่วยกรัม/100 กรัม) เช่น ลูกแพร์ 2.2, แอปเปิล 1.8, ส้ม 1.7, กีวีสีทอง 1.4, กล้วยหอม 1.1, กรัม, องุ่น 0.7โฟลเลต คือแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ใหม่ (หมายถึงโครงสร้างร่างกายทั้งหมด) เช่น การสร้างอวัยวะทารกในครรภ์ การสร้างเม็ดเลือด การสร้างสารพันธุกรรมในร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ขาดโฟลเลตมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีความพิการทางสมองและระบบประสาท กีวี 1 ผล ขนาด 76 กรัม มีโฟลเลต 19 ไมโครกรัม หรือ 5% ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน (RDA)แมกนีเซียม (30 มิลลิกรัม/กีวี 100 กรัม) ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมไปใช้สร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟันได้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของแมกนีเซียม กระดูกที่แข็งแรงช่วยให้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้คล่องตัวขึ้น และมีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ แมกนีเซียมที่มีในผลไม้ชนิดอื่น (หน่วยมิลลิกรัม/100 กรัม) เช่น กล้วยหอม 34, กีวีสีทอง 14.5, ส้ม 10, องุ่นและลูกแพร์ 7, ส้ม 5ซิงก์ แร่ธาตุชนิดนี้มีความสำคัญสำหรับเด็กหนุ่มและผู้ชายทุกคน เพราะเป็นแร่ธาตุที่ใช้สร้างฮอร์โมนเพศชาย (เทสโตสเตอโรน)จากผลการศึกษาในนิวซีแลนด์และยุโรปพบว่า การรับประทานกีวี 2 ผล/วัน จะช่วยลดภาวะที่เซลล์จะถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และยังช่วยซ่อมแซมดีเอ็นเอที่ถูกทำลายจากกระบวนเผาผลาญอาหารของร่างกายได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภูมิคุ้มกันของร่างกายนักวิจัยในสหรัฐอเมริกายังพบประโยชน์อีกว่า เมื่อกินกีวีพร้อมหรือกินหลังอาหาร - โดยเฉพาะหากอาหารมื้อนั้นเป็นอาหารที่มีไขมันมาก - แร่ธาตุในกีวีจะช่วยลดสภาวะที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากจนสารต้านอนุมูลอิสระมีไม่เพียงพอได้ด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น