สมองและร่างกายใช้เวลาช่วงนอนหลับในการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อ คุณภาพชีวิต ที่ดีของเรา หากท่านสังเกตดูคนที่นอนไม่เพียงพอ หรืออดนอนนานๆ ประสิทธิภาพต่างๆ ในการทำงานจะลดลงเนื่องจากสมองล้า ร่างกาย อ่อนเพลีย และขาดสมาธิ นอกจากนี้ในผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจมี ความวิตกกังวลตึงเครียดง่าย โดยเฉพาะอย่างช่วงเวลาจะเข้านอน เตียงนอนอาจเป็น ที่ไม่สบอารมณ์ได้ง่าย เมื่อถึงเวลานอนเวลานอนกลายเป็นที่ๆ ทำให้วิตก กังวลเมื่อนึกถึงว่า คืนนี้จะหลับได้หรือไม่ หรือคืนนี้คงไม่หลับ อีกตามเคยอย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับและอาการวิตกกังวล ตึงเครียด เหล่านี้สามารถลดลงหรือหายไปได้ หากมีการปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับ (sleep hygiene) และฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง
1. การเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวันจะทำให้เกิดความเคยชิน อยากนอนและตื่นเมื่อถึงเวลา และหากในคืนที่ถัดมาท่านนอนดึกกว่าปกติ ท่านควรตื่นสายหน่อยหรือตรงเวลาเดิมดี คำตอบที่ถูกคือ พยายามตื่นตรง เวลา แม้ท่านจะง่วงในระหว่างวันบ้าง แต่ตกดึกท่านจะหลับได้อย่างรวดเร็ว ลุกจากเตียงนอนทันทีเมื่อตื่น เปิดหน้าต่างสัมผัสแสงสว่างช่วงเช้าๆ (6-7 นาฬิกา) กายบริหารหลังตื่นเบาๆ สัก 10-15 นาที ก่อนทำกิจกรรม อื่นต่อไป จะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ดีกว่า
2. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน เพราะจะรบกวนการนอนที่ต่อเนื่อง ในตอนกลางคืนได้ สำหรับท่านที่ง่วงจนทนไม่ไหวอาจงีบช่วงกลางวันสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาที กายบริหาร หรือออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าง 3-4ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็น จะช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกายและอารมณ์ แต่ไม่ควรปฏิบัติค่ำเกินไป เพราะจะรบกวนการนอนหลับได้ อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วงเย็นถึงก่อนนอน ไม่ควรดื่ม คาเฟอีน เกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มกาเฟอีนช่วงบ่ายลงๆ ถึงเวลานอน อย่าสูบ บุหรี่ก่อนนอนหรือกลางดึก
3. อย่านอนเล่นนานๆ บนเตียง ไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่สำหรับอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือทำงานอื่นๆ การปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่ใช่การนอนหลับบนเตียง จะเร้า ความรู้สึกตื่นในขณะที่เราอยากหลับได้
4. ปรับอุณหภูมิที่พอดีในขณะหลับ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ห้องนอน ที่เงียบและมืด จะช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ดี อาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบาๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภท เนื้อ หรือ โปรตีนมากๆ และหากทานอาหารมื้อก่อนนอนด้วย ควรเป็นเพียงนมหรือ อาหารประเภทมอลล์สกัด น้ำผลไม้ก็เพียงพอแล้ว การนอนหลับจะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพผ่อนคลาย ดังนั้นขณะเข้านอนหากร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดไม่ผ่อนคลาย จะไม่สามารถหลับลงอย่างง่ายดาย จึงควรจัดช่วงเวลาสำหรับผ่อนคลายอารมณ์เป็นกิจวัตรประจำวัน ช่วง 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน โดยหลีกเลี่ยง การทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียด 1-2ชั่วโมงก่อนเข้านอน และหากท่าน เป็นคนตึงเครียดง่าย หรือมีเรื่องที่ต้องขบคิดจำนวนมากตลอดวัน แนะนำ ให้ปฏิบัติดังนี้ใช้เวลาช่วงสั้นๆ หลังอาหารมื้อเย็น จดลำดับเรื่องต่างๆ ที่ทำให้ คิด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า และวางแผนจัดการ แต่ละเรื่อง อย่างคร่าวๆ สั้นๆ ให้ปฏิบัติทุกวันจนเคยชิน
5. หากท่านเข้านอน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับ ให้ลุกจากเตียง หาอะไร ทำเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เปิดเฉพาะแสงไฟอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการดูทีวี ฟังข่าว (เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ตื่น) กลับมาที่เตียง เมื่อง่วงเท่านั้น อย่านอนแช่ อยู่บนเตียงโดยไม่หลับถึงเช้า เพราะจะกระตุ้น ให้เกิดความวิตกกังวล เมื่อเข้า นอนในคืนถัดๆ มาหากไม่ง่วงเลย อาจใช้ยา ช่วยให้หลับเป็นครั้งคราวได้
6. การปฏิบัติสุขอนามัยการนอนที่ถูกต้อง และการขจัดพฤติกรรม ที่รบกวนการนอน ฝึกให้มีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ควรปฏิบัติ ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ พบว่า ช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ง่ายขึ้น
7. ในผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนอนไม่หลับควรปฏิบัติ สุขอนามัยการ นอนหลับ และปรับพฤติกรรมการนอนตั้งแต่แรก จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา นอนไม่หลับ เรื้อรังได้
8. ในผู้ที่ใช้ยาช่วยให้หลับต่อเนื่องมานานกว่า 3-6 เดือน หากหยุดยา ทันทีอาจเกิดอาหารนอนไม่หลับใหม่ จำเป็นต้องค่อยๆ ลดยาลงเรื่อยๆ ร่วมกับการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จนสามารถ หยุดยาลงได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรพึ่งยานอนหลับจะดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น