วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พิธีสารเกียวโต

พิธีสารเกียวโตคืออะไร
พิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่าเป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก คือ บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับเดียวของโลกที่มีเป้าหมายผูกพัน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นมันจึงเป็นเครื่องมือหลักที่รัฐบาลทั่วโลกต้องใช้เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน พูดให้เฉพาะเจาะจงก็คือ พิธีสารฉบับนี้บังคับให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงพอประมาณ คือ 5% โดยเทียบกับระดับในพ.ศ. 2533 ภายในพ.ศ. 2551-2555 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ แต่ละประเทศต้องมีพันธะต่อเป้าหมายของแต่ละประเทศ คือ สหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ที่ 8% ญี่ปุ่น ที่ 6% ฯลฯ เป้าหมายของแต่ละประเทศกำหนดขึ้นจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต
นอกจากเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศที่ผูกพันตามกฎหมายแล้วแล้ว พิธีสารเกียวโตยังครอบคลุมถึงกลไกการค้าอันหลากหลายอีกด้วย การที่ปัจจุบันพิธีสารเกียวโตเป็นกฎหมายแล้ว ทำให้ประเทศต่างๆ ที่กำลังเตรียมการปฏิบัติการอย่างเป็นทางการ จะนำไปสู่ “ตลาด” คาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการค้าเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ภายในพ.ศ. 2550 และจะมีการดำเนินการ “กลไกยืดหยุ่น” ได้แก่ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และการนำไปปฏิบัติร่วมกัน (JI)
"กลไกยืดหยุ่น" หรือ "มาตรการยืดหยุ่น" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของพิธีสารฉบับนี้ หากถูกยกเลิก จะส่งผลให้ประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ เต็มไปด้วยโครงการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษ และเป็นพลังงานที่ประเทศอื่นๆ เลิกใช้ไปแล้ว แต่ในทางตรงกันข้าม หากมาตรการยืดหยุ่นนี้ได้รับการปฎิบัติตามตามกฎเกณฑ์ ก็จะส่งผลให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนในประเทศที่พัฒนาแล้ว และหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิธีสารเกียวโตได้รับความเห็นพ้องในพ.ศ. 2540 ถึงแม้ต้องเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ในภายหลังก็ตาม เพื่อให้มีผลบังคับใช้ (กลายเป็นกฎหมาย) พิธีสารเกียวโตกำหนดให้อย่างน้อย 55 ประเทศให้สัตยาบันในพิธีสารนี้ โดยประเทศเหล่านี้เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์อย่างน้อย 55% ได้แก่ ประเทศใน Annex B (ประเทศอุตสาหกรรม) จนถึงปัจจุบัน 129 ประเทศได้ให้สัตยาบันและยอมรับพิธีสารเกียวโต พิธีสารนี้ผ่านความเห็นชอบของหลายประเทศในพ.ศ. 2545 และในที่สุดได้ฝ่าฟันอุปสรรคโดยสหพันธรัฐรัสเซียได้ให้สัตยาบันในปลายพ.ศ. 2547 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีส่วนในการผลักดันพิธีสารเกียวโต โดยรณรงค์ให้รัฐบาลต่างๆ ในภูมิภาคเพิ่มความพยายามในการเชิญชวนให้รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วรับรองพิธีสารนี้ภายในพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบสิบปีของการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก
ประเทศที่สำคัญที่ไม่ให้สัตยาบันในพิธีสารนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ที่ไม่แสดงท่าทีเห็นชอบ หรืออย่างน้อยก็ตราบเท่าที่รัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ บุชอยู่ในอำนาจ ทั้งๆ ที่สหรัฐเป็นผู้ก่อมลพิษก๊าซเรือนกระจกอันดับ 1 ของโลกก็ตาม ส่วนออสเตรเลีย โครเอเชีย และ โมนาโคยังต้องดำเนินการให้สัตยาบันให้เสร็จสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น